เกร็ดความรู้ฟุตบอล France 98 ยุคคลาสสิค แห่งวงการลูกหนัง

เกร็ดความรู้ฟุตบอล

เกร็ดความรู้ฟุตบอล ฟร้องซ์ 98 ฟุตบอลโลกสุดท้าย ยุคคลาสสิค แห่งวงการลูกหนัง และการก้าวผ่านของทศวรรษ

เกร็ดความรู้ฟุตบอล ฟุตบอลโลกยุค 90 ตอนปลาย กับบรรยากาศคลาสสิคยุคสุดท้าย ก่อนจะก้าวผ่านเข้าปี 2000 ฟุตบอลโลกปี 1998 นั้น หรือที่เรียกติดปากกันว่า ฟรองซ์ 98 นับเป็นครั้งที่ 2 ของแดนน้ำหอม ที่ได้รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพในทัวร์เม้นท์ฟุตบอลโลก หลังห่างหายไปนาน จากระยะเวลาที่รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันถึง 60 ปี

ประเทศฝรั่งเศส ได้กลับมาเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกอีกครั้งในปี 1998 นั้น หลังเอาชนะคู่แข่งอย่าง ประเทศโมร็อกโก ในการโหวตโดยคณะกรรมการของฟีฟ่า ด้วยคะแนนเสียง 12 ต่อ 7 เสียง ในระหว่างการประชุมสามัญที่สำนักงานใหญ่ฟีฟ่า FIFA ณ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี 1992 นั้นทำให้ฝรั่งเศส เป็นประเทศที่ 3 ที่ได้รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกถึง 2 ครั้ง ต่อจากเม็กซิโก และอิตาลี

มหกรรมกีฬาที่ถือว่ายิ่งใหญ่ และไม่เป็นรอง โอลิมปิก อย่างฟุตบอลโลก ที่ถูกจัดขึ้นในทวีปยุโรป ครั้งที่ 9 และนับเป็นการแข่งขันฟุตบอลโลก ครั้งแรก ภายใต้การดำรงตำแหน่งประธานฟีฟ่าของ เซปป์ แบล็ตเตอร์ ประธานชาวสวิส และเป็นครั้งแรกที่เพิ่มทีม ที่เข้าร่วมแข่งขันจาก 24 เป็น 32 ทีม

ตั้งแต่เริ่มจัดครั้งแรกในปี 1930 ณ ประเทศอุรุกวัย เป็นช่วงเวลาหลายทศวรรษหลังจากนั้น ศึกฟุตบอลโลก กลายเป็นทัวร์นาเมนต์กีฬา ที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย ฟุตบอลโลกที่ฝรั่งเศสในปี 1998 หรือที่เรียกติดปากกันว่า ฟรองซ์ 98 มีผู้รับชม และติดตามการแข่งขันทั่วโลกมากมาย หลายร้อยล้านคน และมีการให้การสนับสนุนจากองค์กรมากมาย กลายเป็นที่สุดของมหกรรมกีฬาระดับโลก ที่ผู้คนเฝ้ารอคอยอย่างใจจดใจจ่อ

ตลอดการแข่งขัน มีสิ่งที่ให้พูดถึงมากมาย หลายเหตุการณ์นั้น ก็ได้กลายมาเป็นตำนานเล่าขานกันจนถึงทุกวันนี้ หลายเรื่องเป็นหมุดหมายสำคัญที่เปลี่ยนโฉมหน้าทางสังคม จนมาเป็นบทบันทึกทางหน้าประวัติศาสตร์ของโลก ที่สะท้อนผ่านสุดยอดแห่งเกมกีฬาลูกหนัง จนถึงวันนี้ โลกได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากปี 1998 ที่ผ่านมา และยังคงเปลี่ยนไปมีไม่หยุด

เกร็ดความรู้ฟุตบอล

แต่ด้วยเสน่ห์ต่างๆ ของทัวร์นาเม้นท์นี้ ที่เกิดขึ้นจากช่วงเวลาที่ถูกหยุดไว้ในฟุตบอลโลก ฟรองซ์ 98 นั้นล้วนตอกย้ำคำว่า คลาสสิก ที่แท้จริงในทุกๆ ครั้ง เมื่อได้คิดถึงและย้อนกลับไปมอง แน่นอนว่าฟุตบอลโลก 1998 หรือ ฟรองซ์ 98 จบลงด้วยการคว้าแชมป์สมัยแรกของ ทัพตราไก่ ทีมชาติฝรั่งเศส (เจ้าภาพ)

ภายใต้การกุมบังเหียนของ เอเม่ ฌักเก้ต์ หลังเอาชนะทัพ แซมบ้า ทีมชาติบราซิล ที่นำทัพโดยสุดยอดดาวยิงในยุคนั้น เจ้าโล้นทองคำ โรนัลโด้ ไปได้ในนัดชิงชนะเลิศที่ สตาร์ด เดอ ฟรองซ์ ในสกอร์ 3 ประตูต่อ 0 ทำให้แฟนบอล และชาวฝรั่งเศสกว่าล้านคนนั้นหลั่งไหลออกมาร่วมเฉลิมฉลองเต้นรำและร้องเพลงชาติ แสดงความดีใจตลอดทั้งค่ำคืน ณ ถนนฌ็อง-เซลีเซ่ อันโด่งดัง

จนไปถึงยามเช้าของวันถัดไป ที่มีขบวนพาเหรดแห่ถ้วยเวิลด์คัพบนรถบัส และมีผู้คนนับแสนนั้นได้มาร่วมฉลองความสำเร็จ ของพลพรรคนักเตะตราไก่ ด้วยความสุขล้นในช่วงปลายยุค 90 ทัพตราไก่แห่งแดนน้ำหอม ทีมชาติฝรั่งเศส เต็มไปด้วยนักเตะผิวสี และนักเตะเลือดผสม ด้วยความที่ฝรั่งเศสนั้น เป็นประเทศที่เปิดรับผู้อพยพจากประเทศอาณานิคมของตนเองในอดีต

และโดยเฉพาะในโซนแอฟริกาอย่าง แอลจีเรีย, ตูนีเซีย, โมร็อกโก ช่วงเวลานั้น แนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพได้รับการเชิดชูอย่างยิ่ง นักการเมือง ปัญญาชน และสื่อสารมวลชน พยายามยกคำนี้ขึ้นมาเพื่ออธิบายว่า ฝรั่งเศส นั้นเป็นประเทศที่มีความยึดมั่น ที่จะยึดตามหลักการของสาธารณรัฐคือ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ

สามารถบูรณาการผู้คนจากหลากหลายวัฒนธรรม หลากหลายเชื้อชาติพันธุ์ ให้สามารถเข้ามาถือสัญชาติฝรั่งเศสได้ ถึงแม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการบางคนว่า เป็นแค่มายาคติก็ตามในแง่หนึ่งนั้น การคว้าแชมป์โลกของ ทีมชาติฝรั่งเศส จึงเปรียบเสมือนการรวมประเทศที่ประสบความสำเร็จ

เพราะนักเตะที่ชื่อ ซีเนดีน ซีดาน ซึ่ง 2 ประตูที่เขาทำได้ในเกมนัดชิงชนะเลิศกับ บราซิล นั้น ทำให้เขากลายเป็นขวัญใจชาวฝรั่งเศส รวมถึงเป็นชาวฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักที่สุดในโลก จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของสังคมหลากเชื้อชาติยุคใหม่ในฝรั่งเศส เพราะครอบครัวของเขานั้นเป็นผู้อพยพจากแอลจีเรีย

เหตุการณ์สุดคลาสสิกใน ฟร้องซ์98 ที่ยังถูกเล่าขานกันจนถึงปัจจุบัน

เกร็ดความรู้ฟุตบอล

ซึ่งในตลอดระยะเวลาในการแข่งขันทั้ง 32 วัน นั้นเกิดเหตุการณ์ที่น่าจดจำมากมายในสนาม แม้จะมันผ่านมากว่า 2 ทศวรรษ แต่หลายเรื่องราวยังคงถูกจดจำ ถูกพูดถึงมาจนถึงทุกวันนี้ นับว่าทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างการชิงชัยในฟรองซ์ 98 นั้น ช่างสะท้อนความงดงาม และคลาสสิกของโลกฟุตบอล ณ ห้วงเวลานั้น รวมถึงความเป็นมนุษย์ของเหล่านักกีฬา ที่ถูกถ่ายทอดออกมาได้ดีเหลือเกิน

หนึ่งในเหตุการณ์ที่ถูกจดจำมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการโดนไล่ออกของ เดวิด เบ็คแฮม ในรอบน็อกเอาต์ 16 ทีมสุดท้าย ที่ทัพ สิงห์โตคำราม อังกฤษ ต้องโคจรมาพบกับทัพ ฟ้าขาว ทีมชาติอาร์เจนตินา เรื่องราวนั้นเกิดขึ้นในช่วงต้นครึ่งหลังนาทีที่ 47 ขณะที่สกอร์ยังเสมอกันอยู่ 2 ประตูต่อ 2 มิดฟิลด์รูปหล่อของอังกฤษถูก ดิเอโก ซิเมโอเน่ มิดฟิลด์ตัวรับอาร์เจนไตน์ กระแทกเข้าด้านหลัง

ในขณะจะพักบอลที่บริเวณกลางสนาม เบคแฮม ล้มลงฟุบหน้าบนพื้นหญ้า ก่อนใช้ขาข้างขวาตอกกระแทกใส่ ซิเมโอเน่ ที่กำลังเดินถอยหลัง เขาได้ล้มลงพร้อมแสดงอาการถูกกระทำ ต่อหน้าผู้ตัดสิน คิม มิลตัน นีลเซน ชาวเดมาร์ก ส่งผลให้เขานั้นถูกใบแดงโดยตรง แม้ภายหลังจะมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ซิเมโอเน่ ล้มลงเพื่อแสดงอาการว่าถูกกระทำ แต่ท้ายที่สุด อังกฤษก็พ่ายอาร์เจนตินาในการดวลจุดโทษ เบ็คแฮมถูกตำหนิอย่างหนัก กลายเป็นผู้ร้ายในสายตาแฟนบอล และสื่อในอังกฤษทันที

เกร็ดความรู้ฟุตบอล บทเพลงแห่งทัวร์นาเม้นท์วัฒนธรรม ป็อปคัลเจอร์

สิ่งที่ผู้คนและฟนบอลจะจดจำจากการแข่งขันฟุตบอลโลกในแต่ละครั้ง นอกจากการแข่งขันในสนามแล้ว ยังมีสีสันนอกสนามก็เป็นเสน่ห์ที่ผู้คนนั้นให้ความสนใจ 1 ในสัญลักษณ์ของฟุตบอลโลกทุกครั้งคือ บทเพลงประจำการแข่งขัน เพลง The Cup of Life ที่ขับร้องโดย ริกกี มาร์ติน ศิลปินชาวเปอร์โตริโก

นับเป็นบทเพลงอมตะ ของการแข่งขันฟุตบอลโลกอย่างแท้จริงเลยทีเดียว ด้วยเอกลักษณ์ของความสนุกสนานในจังหวะ พร้อมพาร์ตของดนตรี และเนื้อเพลงที่ติดหู ด้วยจังหวะที่สนุกสนานสไตล์ลาตินอเมริกา และเนื้อเพลงที่กล่าวถึงการผลักดันตนเอง ให้มุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ  ทำให้ The Cup of Life นั้นฮิตติดหูไปทั่วโลก  เกร็ดความรู้ กีฬา

พานินี่ คือ สมุดสะสมที่บันทึกประวัติศาสตร์ ของโลกลูกหนัง

เกร็ดความรู้ฟุตบอล

หากย้อนไปในยุค 90 ตอนปลาย ที่เทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตยังไม่สะดวกสบายเท่าทุกวันนี้นั้น ความสุขความสนุกของยุคนั้นจึงสะท้อนผ่านสิ่งพิมพ์ และอีก 1 ความคลาสสิกของป็อปคัลเจอร์ในยุค 90 คือการสะสมสติกเกอร์นักเตะในฟุตบอลโลก ผ่านสมุดสะสมพานินี่ Panini ด้วยความเรียบง่าย

แค่ลุ้นว่าสติกเกอร์ที่ได้นั้นจะเป็นรูปของนักเตะคนไหน แล้วติดลงบนหน้ากระดาษสมุดสะสม เพื่อนำไปอวดเพื่อนๆ ในสมัยนั้น เรียกได้ว่า พานินี่ เป็นสมุดบันทึกประวัติศาสตร์ของโลกลูกหนัง ที่แฝงไปด้วยมนต์ขลังและความคลาสสิกอย่างแท้จริง ในยุคที่โลกยังไม่รู้จัก Facebook, Youtube, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์ หรือติ๊กต็อก ยุคที่ผู้คนเงยหน้าปฏิสัมพันธ์กันมากกว่าก้มหน้า

ในยุคที่โลกกว้างใหญ่นั้น อยู่รอบตัวเรามากกว่าสมาร์mโฟนเครื่องเล็กในมือ ฟรองซ์ 98 จึงเป็นอีก 1 ไดอารีที่บันทึกเหตุการณ์ช่วงเวลาของความสุข และความสนุกในปลายยุคอนาล็อก ที่มนุษย์ยังคงใช้ชีวิต มองโลก และแสดงออกด้วยจริตในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เทคโนโลยียังไม่ได้ขัดเกลาเราจนกลายเป็นอย่างทุกวันนี้ สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ใน บทความกีฬาที่น่าสนใจ

“Jake Sully”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *